ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
21 ก.พ. 67
สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส. ชุดที่ 26 (2566)
พรรคภูมิใจไทย(๑) แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” และคำว่า “เกษตรกรรม” และเพิ่มบทนิยามคำว่า “การจัดทำที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท” (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘) เพื่อให้เกษตรกรที่ได้รับจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถนำที่ดินนั้นไปดำเนินการจัดทำที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบทได้ (ร่างมาตรา ๓ และร่างมาตรา ๔) (๒) แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตลอดจนการครอบครองที่ดินของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินของรัฐ ที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นซึ่งจะถูกจัดสรรเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมทั้งเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยสะดวกและรวดเร็วเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการและการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดังกล่าวนั้นของประชาชนให้เป็นไปโดยโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ (ร่างมาตรา ๕) (๓) แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การโอนที่ดินที่ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ครอบคลุมทั้งการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม และการโอนไปยังสถาบันการเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และเกษตรกรอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘) (ร่างมาตรา ๖)
รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย
ผู้ร่วมเสนอ 19 คน
พรรคภูมิใจไทย
18 คน
ไม่พบข้อมูลพรรค
1 คน
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ