ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง

ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติกัญชา กัญชง

กำลังดำเนินการ
ใช้เวลา 216 วัน
วันที่เสนอ

29 ก.พ. 67


สรุปเนื้อหา

กำหนดให้กัญชา กัญชง ที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ไม่ถือเป็นยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือประมวลกฎหมายยาเสพติด กำหนดให้การผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน และสาธารณสุขโดยใช้กัญชา กัญชงเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ของผู้ผลิต ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น รายได้ที่เกิดขึ้นจากค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ภาษี หรือรายได้อื่นใด ที่เกิดจากกิจการกัญชา กัญชง ในเขตองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นใด ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาต ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขาย รวมถึงการจำหน่ายกัญชา กัญชง หรือผลิตภัณฑ์จากกัญชา กัญชง กำหนดหลักเกณฑ์การจดแจ้งและการรับจดแจ้งการใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชง กำหนด เจ้าหน้าที่ บุคคล องค์กร หรือหน่วยงาน ทำหน้าที่ประเมิน ตรวจสอบ และพิจารณาอนุญาต ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นบัญชี ค่าขึ้นบัญชี ที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยต้องไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้ กำหนดหลักเกณฑ์ การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาตหรือใบรับจดแจ้ง กำหนดห้ามผู้ใดโฆษณา เว้นแต่ จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และหากผู้ใดฝ่าฝืน ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้โฆษณา ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แก้ไขข้อความ ห้ามใช้ข้อความ ระงับการโฆษณา เป็นต้น กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่แต่งตั้งโดยนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ กำหนดห้ามผู้รับอนุญาต ขายกัญชา กัญชง เพื่อการนำไปบริโภคแก่บุคคล เช่น บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เป็นต้น

หมวด
สุขภาพ
เศรษฐกิจ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์แหล่งข้อมูลต้นทาง

อัพเดตข้อมูล: 2 ต.ค. 2567

แชร์หน้านี้

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]