ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
12 ต.ค. 66
อดิศร เพียงเกษ สส. ชุดที่ 26 (2566)
พรรคเพื่อไทยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติองค์จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ดังต่อไปนี้ (1) เพิ่มบทนำยามคำว่า วิทยุภาคประชาชน และแก้ไขบทนิยามคำว่า จัดสรรคลื่นความถี่ ให้สอดคล้องกัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4) (2) ห้ามมิให้นำคลื่นความถี่วิทยุภาคประชาชน วิทยุบริการชุมชน และวิทยุที่กระจายเสียงด้วยกำลังส่ง ไม่เกินหนึ่งกิโลวัตต์ ออกประมูลคลื่นความถี่ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 41) (3) ให้ กสทช. มีหนังสือเตือนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ก่อนมีคำสั่งลงโทษทางปกครอง และห้ามมิให้เพิกถอนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความพี่หรือปิดกิจการกระจายเสียง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 44/5) (4) กำหนดให้ กสทช. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการส่งเสริมชุมที่มีความพร้อมให้เป็น ผู้มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ประเภท บริการชุมชน ประเภทวิทยุภาคประชาชน และกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงประเภท ชุมชนสามารถมีรายได้จากการบริจาค การอุดหนุนหรือทางอื่น เพื่อให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการ สถานีวิทยุ (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 51) (5) แก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษกรณี วิทยุภาคประชาชน วิทยุชุมชน และวิทยุที่ส่งกระจายเสียง ด้วยกำลังส่งไม่เกินหนึ่งกิโลวัตต์ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้ระงับการดำเนินการในประการที่น่าจะเป็น การเอาเปรียบผู้บริโภค โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไร เกินควาร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแล้ว (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77)
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ