คำสัญญาของพรรคการเมือง
พรรคเพื่อไทย
เพิ่มโอกาสให้หนังไทย รัฐจะสนับสนุนหนังอิสระ เพื่อให้หนังอิสระเป็นพื้นที่ทดลองเทคนิคการเล่าเรื่องแนวใหม่ บ่มเพาะฝีมือ สร้างความหลากหลาย และเป็น R&D ให้หนังกระแสหลัก รัฐจะช่วยขยายตลาดหนังไทย และสนับสนุนหนังไทยไปเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลก
หนังไทยได้ฉาย ไม่ถูกกีดกัน หนังไทย-ท้องถิ่น ต้องมีรอบฉาย ไม่ถูกกัดกัน โดยรัฐจะเข้าสนับสนุนด้วยการเช่าโรงภาพยนตร์ของเอกชนเพื่อฉายหนังไทย-ท้องถิ่น
เลิกมาตรการเซนเซอร์ ไม่มีคำว่า “ห้ามฉาย” อีกต่อไป ยกเลิกมาตรการเซนเซอร์หนังอย่างเด็ดขาด ปลดปล่อยและคุ้มครองเสรีภาพทำคนหนังอย่างเต็มที่ ผ่านการแก้กฎกระทรวง ทำได้ภายใน 100 วัน
เพิ่มช่องทางหาทุนสร้างหนัง เปิดโอกาสให้คนทำหนังเข้าถึงเงินทุน เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำได้ง่ายขึ้นโดยให้สามารถใช้สัญญาจ้างสร้างหนังเป็นหลักประกัน และเปิดช่องทางระดมทุนทางอื่นให้คนสร้างหนังสามารถระดมทุนในช่องทางที่หลากหลายได้
กองทุนภาพยนตร์ เพิ่มโอกาสคนทำหนัง จะเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนผู้ผลิตหนังที่ครอบคลุมทั้งหนังอิสระและหนังกระแสหลัก
กำลังดำเนินการ
เราพบข้อมูลความคืบหน้า แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้สัญญาไว้
ที่มา

อัพเดตข้อมูล: 24 ต.ค. 2567

แชร์คำสัญญา
ความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง

สถานะ
กำลังดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
15 ต.ค. 2567
THACCA เห็นชอบทุนสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ สารคดี และอนิเมชั่น 10 โครงการ
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติมีมติเห็นชอบทุนสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ สารคดี และอนิเมชั่น 10 โครงการ แต่ยังไม่พบความเคลื่อนไหวนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2567
10 ต.ค. 2567
กระทรวงวัฒนธรรม มีการยกร่าง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฉบับใหม่ที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นแล้ว มีการปรับลดโทษและการควบคุมโดยรัฐ
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับใหม่ หวังส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติ และหนุนการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ทั้งยังลดบทบาทการกำกับดูแลของรัฐลง โดยใช้ระบบ Self-regulate rating system แทนที่ การตรวจพิจารณาอนุญาตโดยคณะกรรมการของวธ.
10 ต.ค. 2567
ไม่พบการสนับสนุนของรัฐในการเช่าโรงหนังเอกชนเพื่อหนังไทยท้องถิ่น
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการ ไม่พบการสนับสนุนด้วยการเช่าโรงภาพยนตร์ของเอกชนเพื่อฉายหนังไทย-ท้องถิ่นของรัฐ
29 ก.ค. 2567
กระทรวงวัฒนธรรมเชิญประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.ภาพยนตร์ใหม่
1 มิ.ย. 2567
มีการกล่าวถึงการจัดหาแหล่งเงินทุนหรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ แต่ไม่พบการผลักดันเพื่อเปิดช่องทางหาทุนสร้างหนัง
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า ยังไม่พบการสนับสนุนการผลักดันโยบายสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อคนทำหนัง และการพัฒนาพื้นที่การระดมทุนที่เป็นรูปธรรม
19 มี.ค. 2567
ประกาศคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ๓ ฉบับ
18 ธ.ค. 2566
รมว.วัฒนธรรมเผย " ร่าง กม.ภาพยนตร์และเกม ฉบับใหม่ ยกร่างเสร็จแล้ว เน้นส่งเสริมผู้ประกอบ ลดอำนาจรัฐในการสั่งแบน ตัดทอน แก้ไขเนื้อหา ใช้ระบบเรตควบคุมแทน พร้อมตั้งสภาภาพยนตร์และกองทุนช่วยเหลือ
พบความเคลื่อนไหวที่อัพเดตกว่านี้ หรือ มีข้อทักท้วงการจัดสถานะของนโยบายนี้?
ทีมงานยินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้สมบูรณ์และสมเหตุสมผลที่สุด
แจ้ง/ทักท้วงข้อมูล

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]