คำสัญญาของพรรคการเมือง

พรรคเพื่อไทย
“รถไฟฟ้า กทม.” 20 บาทตลอดสาย
เราจะเร่งเจรจากับภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าโดยมีเป้าหมายคือ ค่าโคยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพคือ 20 บาทตลอดสาย
กำลังดำเนินการ
เราพบข้อมูลความคืบหน้า แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้สัญญาไว้
ความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง
สถานะ
กำลังดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
10 ต.ค. 2567
พบการนำร่องในบางสาย แต่ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้กับรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครทุกสาย ทุกสี
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า รัฐบาลเดินหน้านำร่องอนุมัติการปรับค่ารถไฟฟ้าให้เป็นราคา 20 บาทตลอดสาย ในสายสีม่วง-สีแดง แต่ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้กับรถไฟฟ้าทุกสาย ในขณะที่รัฐพยายามตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าทุกสายที่เป็นของเอกชนมาเป็นของรัฐ เพื่อการกำหนดราคาที่ถูกลง โดยการันตีว่านโยบายจะสำเร็จครบทุกสี ทุกสาย ภายใน ก.ย. 68
16 ก.ย. 2567
คลังพร้อมถก “คมนาคม” ตั้งกองทุนรวมซื้อคืนรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
3 ก.ย. 2567
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแพทองธาร คณะที่ 64
เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดที่ 64 จำนวน 35 คน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันถัดมา พรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งมากที่สุด 16 คน 21 ตำแหน่ง รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย 8 คน 9 ตำแหน่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ 4 คน 5 ตำแหน่ง และพรรคอื่น ๆ รวมผู้ที่ดำรงตำแหน่งเดิมจากคณะรัฐมนตรีก่อนหน้าจำนวน 24 คน
30 ส.ค. 2567
สุริยะ ยันเดินหน้านโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ต่อเนื่อง จ่อชง ครม. ชุดใหม่ต่ออายุมาตรการ
16 ส.ค. 2567
แพทองธาร ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สรวงศ์ เทียนทอง เสนอชื่อแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฯ ที่ประชุมมีมติเลือกแพทองธารเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ด้วยคะแนน 319 เสียงเห็นชอบ 145 เสียงไม่เห็นชอบ งดออกเสียง 27 เสียง และมีสมาชิกที่ไม่มาประชุม 2 คน
14 ส.ค. 2567
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้ถอดถอนเศรษฐาจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่พิชิตเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 สิ้นสุดลงทั้งคณะ
19 ก.ค. 2567
“สุริยะ” เร่งเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก “ศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี” ต้นปี 2571 ยันเข้ารวมค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย
16 ก.ค. 2567
“สุริยะ” เผย ครม. ไฟเขียว BEM ชนะการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ยันประชาชนได้ค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
16 ก.ค. 2567
ผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
11 มิ.ย. 2567
ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ....
8 มิ.ย. 2567
สก.กทม. พร้อมสนับสนุน "คมนาคม" พร้อมร่วมผลักดันนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
27 เม.ย. 2567
ปรับคณะรัฐมนตรี เศรษฐา 1/1
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 มีการปรับคณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีถูกปรับออก 4 คน ถูกโยกย้าย 6 คน และแต่งตั้งเพิ่ม 8 คน
16 ต.ค. 2566
มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล
16 ต.ค. 2566
ครม.อนุมัติรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นำร่องสายสีม่วง-สีแดง
1 ก.ย. 2566
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเศรษฐา คณะที่ 63
เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ พรรคเพื่อไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งมากที่สุด 17 คน 20 ตำแหน่ง รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอื่นๆ นายเศรษฐา นายกรัฐมนตรียังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
22 ส.ค. 2566
เศรษฐา ทวีสิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เสนอชื่อเศรษฐา ทวีสินให้รัฐสภาพิจารณาเป็นนายกรัฐมนตรี เศรษฐาได้รับคะแนนเห็นชอบ 482 เสียงจาก 728 เสียง เกินครึ่งตามรัฐธรรมนูญ ทำให้เศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย
พบความเคลื่อนไหวที่อัพเดตกว่านี้ หรือ มีข้อทักท้วงการจัดสถานะของนโยบายนี้?
ทีมงานยินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้สมบูรณ์และสมเหตุสมผลที่สุด
สถานะคำสัญญา
สถานะคำสัญญา
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ
ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง
หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
© Parliament Watch 2023