คำสัญญาของพรรคการเมือง
พรรคเพื่อไทย
พัฒนาประเทศไทยให้เป็น Regional transport hub ทั้งในด้านผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทางอากาศ จัดตารางการบินให้มีประสิทธิภาพเชื่อมต่อสายการบินเพื่อให้สายการบินจากทั่วโลกมาต่อเครื่องที่ไทย
ยกระดับสนามบินนานาชาติให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจำนวน 120 ล้านคนและปริมาณการขนส่งสินค้า cargo จำนวน 3 ล้านตันภายในปี 2570
อัพเกรดสนามบินสุวรรณภูมิ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 100 ล้านคนต่อปี และยกระดับให้มีคุณภาพติดอันดับ 1-10 ของโลก
กำลังดำเนินการ
เราพบข้อมูลความคืบหน้า แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้สัญญาไว้
ความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง
สถานะ
กำลังดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
10 ต.ค. 2567
มีแผนการขยายสุวรรณภูมิระยะยาว ให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นและติดอันดับต้นๆ ของโลก
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า ทอท. ทบทวนแผนแม่บทการเพื่อรองรับผู้โดยสาร 150 ล้านคนต่อปี พร้อมเปิดรันเวย์ 3 1 พ.ย.นี้ พร้อมเปิดประมูลโครงการส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก ในเดือน ธ.ค. 2567 โดยวางเป้าผลักดันท่าอากาศยานให้ติดอันดับ 1 ใน 20 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก
10 ต.ค. 2567
การท่าอากาศยานฯ มีแผนยกระดับสนามบินในภูมิภาคทั่วประเทศ และผลักดันการขนส่งระดับภูมิภาค
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า การท่าอากาศยานฯ AOT มีแผนการผลักดันประเทศไทยให้เป็น Avaiation hub เดินหน้าก่อนสร้างและขยายสนามบินทั่วทุกภูมิภาค พร้อมเป้าหมายรองรับผู้โดยสาร 210 ล้านคนภายใน 10 ปี ในขณะที่ AOTGA ก็มีแผนผลักดันการขนายและพัฒนาศูนย์การขนส่งครบวงจรระดับภูมิภาค
24 ก.ย. 2567
เปิดเมกะโปรเจ็กต์ลุยลงทุนสนามบินทั่วไทย วางงบเฉียด 7 แสนล้าน
8 ก.ย. 2567
AOTGA เปิด “ศูนย์มัลติโมดอล” ดันไทย Hub ขนส่งระดับภูมิภาค
26 ส.ค. 2567
ทอท. เปิดเวที EIA ขยายสนามบินเชียงใหม่ 2.4 หมื่นล้าน คาดก่อสร้างได้กลางปี’68
20 ก.ค. 2567
เดินหน้าแผน 3 สนามบินภูมิภาค “อุดรธานี-บุรีรัมย์-กระบี่” ยกระดับสู่ฮับการบินภูมิภาค
6 ก.ค. 2567
AOT เดินหน้า “ฮับการบินโลก” คาดอีก 10 ปี รับผู้โดยสาร 210 ล้านคน/ปี
1 มี.ค. 2567
นายกฯ แถลงแผนพัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค (Aviation Hub)
11 ก.ย. 2566
คณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามรายละเอียดดังนี้
รัฐบาลจะผลักดันการพัฒนาการบริหารจัดการทุกขั้นตอนการบริการที่เป็นประตูสู่ประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงระบบคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยจะปรับปรุงสนามบินและจัดการเที่ยวบินของสนามบินทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มปริมาณเที่ยวบินให้สามารถนำนักท่องเที่ยวมาสู่ประเทศไทยได้มากขึ้น แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและปราบปรามการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ซึ่งการรักษาความปลอดภัยจะสร้างความมั่นใจและความประทับใจกับประเทศไทยในระยะยาว
พบความเคลื่อนไหวที่อัพเดตกว่านี้ หรือ มีข้อทักท้วงการจัดสถานะของนโยบายนี้?
ทีมงานยินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้สมบูรณ์และสมเหตุสมผลที่สุด
สถานะคำสัญญา
สถานะคำสัญญา
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ
ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง
หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
© Parliament Watch 2023