คำสัญญาของพรรคการเมือง
พรรคเพื่อไทย
“ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านขั้นตอน Learn to Earn” เพื่อ “เรียนรู้มีรายได้ เรียนรู้ง่ายตลอดชีวิต” สามารถโอนหน่วยกิตที่สะสมไว้ หางานได้ในทุกช่วงของชีวิต
หากรายได้ของครัวเรือนต่ำกว่า 20,000 บาท/เดือนก็จะได้รับการเติมให้ครบ 20,000 บาท/เดือน จนกระทั่งครอบครัวมีรายได้เพียงพอ ผู้จะรับสิทธิ์จะลงทะเบียนผ่านระบบบนแพลตฟอร์ม Learn to Earn เพื่อเสริมทักษะและหางาน
กำลังดำเนินการ
เราพบข้อมูลความคืบหน้า แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้สัญญาไว้

อัพเดตข้อมูล: 29 พ.ย. 2567

แชร์คำสัญญา
ความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง

สถานะ
กำลังดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
10 ต.ค. 2567
ไม่พบข้อมูลการดำเนินการนโยบายรายได้ครัวเรือน 20,000 บาท
10 ต.ค. 2567
ไม่พบการดำเนินนโยบายจบปริญญาตรีอายุ 18 ปี
10 ต.ค. 2567
ศธ.หนุน Learn to Earn ผลักดันการ Upskill และหารายได้ระหว่างเรียน เน้นกลุ่มอาชีวะ
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า มีการผลักดันนโยบายมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) กำหนดให้เชื่อมโยงทักษะสาอาชีวะกับมาตรฐานอาชีพต่างๆ และจัดให้มีการอบรมอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน
16 ก.ย. 2567
สมัยที่ 2 “เพิ่มพูน” พร้อมขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล สานงานต่อ ก่องานใหม่ “เรียนดี มีความสุข” ทุกมิติ เดินหน้า “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ”
16 ก.ย. 2567
สมัยที่ 2 “เพิ่มพูน” พร้อมขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล สานงานต่อ ก่องานใหม่ “เรียนดี มีความสุข” ทุกมิติ เดินหน้า “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ”
3 ก.ย. 2567
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแพทองธาร คณะที่ 64
เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดที่ 64 จำนวน 35 คน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันถัดมา พรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งมากที่สุด 16 คน 21 ตำแหน่ง รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย 8 คน 9 ตำแหน่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ 4 คน 5 ตำแหน่ง และพรรคอื่น ๆ รวมผู้ที่ดำรงตำแหน่งเดิมจากคณะรัฐมนตรีก่อนหน้าจำนวน 24 คน
16 ส.ค. 2567
แพทองธาร ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สรวงศ์ เทียนทอง เสนอชื่อแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฯ ที่ประชุมมีมติเลือกแพทองธารเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ด้วยคะแนน 319 เสียงเห็นชอบ 145 เสียงไม่เห็นชอบ งดออกเสียง 27 เสียง และมีสมาชิกที่ไม่มาประชุม 2 คน
14 ส.ค. 2567
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้ถอดถอนเศรษฐาจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่พิชิตเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 สิ้นสุดลงทั้งคณะ
27 เม.ย. 2567
ปรับคณะรัฐมนตรี เศรษฐา 1/1
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 มีการปรับคณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีถูกปรับออก 4 คน ถูกโยกย้าย 6 คน และแต่งตั้งเพิ่ม 8 คน
11 ก.ย. 2566
คณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามรายละเอียดดังนี้
รัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อความมีคุณภาพของครูทั้งประเทศ รวมไปถึงครูแนะแนวเพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับคำแนะนำด้านเนื้อหาของวิชาการและการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกเรียนและประกอบอาชีพ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนทุกคน นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่นักเรียน นักศึกษาทั้งสายวิชาการและสายอาชีพให้มีรายได้จากวิชาที่เรียน โอกาสฝึกงานระหว่างเรียน เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถตรงต่อความต้องการของการจ้างงาน และที่สำคัญที่สุดรัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เป็นรากฐานสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
1 ก.ย. 2566
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเศรษฐา คณะที่ 63
เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ พรรคเพื่อไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งมากที่สุด 17 คน 20 ตำแหน่ง รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอื่นๆ นายเศรษฐา นายกรัฐมนตรียังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
22 ส.ค. 2566
เศรษฐา ทวีสิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เสนอชื่อเศรษฐา ทวีสินให้รัฐสภาพิจารณาเป็นนายกรัฐมนตรี เศรษฐาได้รับคะแนนเห็นชอบ 482 เสียงจาก 728 เสียง เกินครึ่งตามรัฐธรรมนูญ ทำให้เศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย
พบความเคลื่อนไหวที่อัพเดตกว่านี้ หรือ มีข้อทักท้วงการจัดสถานะของนโยบายนี้?
ทีมงานยินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้สมบูรณ์และสมเหตุสมผลที่สุด
แจ้ง/ทักท้วงข้อมูล

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]