คำสัญญาของพรรคการเมือง
พรรคเพื่อไทย
ปฏิรูปกองทัพเป็นทหารมืออาชีพ ป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ให้มีความเป็นทหารอาชีพ
แก้ไขกฎหมายยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ให้เข้ารับราชการทหารโดยสมัครใจ
เสนอกฎหมายป้องกันต่อต้านการรัฐประหาร
กำลังดำเนินการ
เราพบข้อมูลความคืบหน้า แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้สัญญาไว้
คีย์เวิร์ด
ปฏิรูปกองทัพ หมวด
ความมั่นคงความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง
สถานะ
กำลังดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
10 ต.ค. 2567
กระทรวงกลาโหมสมัยสุทินฯ เสนอให้เข้ารับราชการทหารด้วยความสมัครใจ ผ่านแรงจูงใจทางผลตอบแทน และมีการกล่าวถึงในคำแถลงนโยบายแพทองธารฯ แต่ยังไม่พบความคืบหน้าเพิ่มเติม
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า มีการเสนอปรับผลตอบแทนทหารเกณฑ์ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการสมัคร อาทิ ได้รับเงินเดือนเต็ม หรือไม่ต้องดรอปเรียน
12 ก.ย. 2567
เปิดคำแถลงนโยบาย "รัฐบาลแพทองธาร" ต่อรัฐสภา ชี้เปลี่ยนผ่านรูปแบบการเกณฑ์ทหารไปสู่แบบสมัครใจ
16 ส.ค. 2567
สภากลาโหม' ผ่านร่างกฎหมายสกัดรัฐประหาร จ่อเข้า ครม.
ที่ประชุมสภากลาโหม เห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่…) พ.ศ. … และร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่…) พ.ศ. … ... สาระสำคัญของร่างแก้ไขเพิ่มเติม คือการสกัดกั้นการทำรัฐประหาร ให้อำนาจนายกฯ โดยความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) สั่งพักราชการทหารคิดทำการรัฐประหาร
5 ม.ค. 2567
นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงงบประมาณ 67 แจ้งลดยอดกองประจำการจาก แสน เป็น 80,000-85,000 คน และจูงใจให้คนสมัคร
11 ก.ย. 2566
คณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามรายละเอียดดังนี้
รัฐบาลจะร่วมกันพัฒนากองทัพให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของประเทศพร้อมกับประชาชน โดย (1) จะเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจ (2) ปรับปรุงการฝึกนักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนให้เป็นแบบสร้างสรรค์ (3) ลดกำลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง และกำหนดอัตรากำลังในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศ (4) ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับรูปแบบและความเสี่ยงของภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต และ (4) นำพื้นที่ของหน่วยทหารที่เกินความจำเป็นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคการเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมของประเทศ
พบความเคลื่อนไหวที่อัพเดตกว่านี้ หรือ มีข้อทักท้วงการจัดสถานะของนโยบายนี้?
ทีมงานยินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้สมบูรณ์และสมเหตุสมผลที่สุด
สถานะคำสัญญา
สถานะคำสัญญา
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ
ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง
หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
© Parliament Watch 2023