ร่าง พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
21 ม.ค. 68
หลักการ ๑.๑ เพิ่มบทนิยามคำว่า “ผู้ต้องหา” และแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ค่าทดแทน” และ “พนักงานอัยการ” (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓) ๑.๒ กำหนดสิทธิการได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายของผู้ต้องหาในคดีอาญา หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา และกำหนดให้ค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย ที่ได้รับตามกฎหมายไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕ มาตรา ๖ และ มาตรา ๘ (๒) และเพิ่มหมวด ๔/๑ การจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา มาตรา ๑๙/๑ และมาตรา ๑๙/๒) ๑.๓ แก้ไขเพิ่มเติมการแจ้งสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย แก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๖/๑) ๑.๔ แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิการได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย และหลักเกณฑ์การจ่าย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑) ๑.๕ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การยื่นคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย ของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓) เหตุผลของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๒๕ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือ จากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐ ตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและยังไม่ครอบคลุมสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกควบคุมหรือขังในชั้นสอบสวน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกควบคุมหรือขังในชั้นสอบสวน ระยะเวลาในการยื่นคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย รวมทั้งลดขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และจำเลยได้รับการช่วยเหลือเยียวยาที่สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เส้นทางกฎหมาย
-
5 ก.พ. 68
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ