พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
ชื่อทางการ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
9 ก.ย. 63
โดยที่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ไม่มีพรมแดน การเคลื่อนย้ายการลงทุนสามารถทำได้ง่าย ก่อให้เกิดการโยกย้ายกำไรในการดำเนินธุรกิจไปในประเทศที่มีความจูงใจด้านภาษีอากร ส่งผลให้การติดตามจัดเก็บภาษีอากรของแต่ละประเทศเป็นไปอย่างลำบากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันการเสี่ยรัษฎากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีอากรระหว่างกันที่มีการกำหนดไว้ในความตกลงหรืออนุสัญญาเพื่อการวนการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร หรือความตกลงระหว่างประเทศจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อกำหนดอำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มาโดยหน้าที่ราชการเพื่อการปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงหรืออนุสัญญาดังกล่าว และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เส้นทางกฎหมาย
-
8 พ.ย. 64
ออกเป็นกฎหมาย -
11 ส.ค. 64
ออกเป็นกฎหมาย - สว.พิจารณา วาระ 3
พิจารณาให้ความเห็นชอบ
- สว.พิจารณา วาระ 2
อยู่ระหว่างการพิจารณา
-
5 ก.ค. 64
สว.พิจารณา วาระ 1รับร่าง พ.ร.บ. ไว้พิจารณา
-
16 มิ.ย. 64
สส.พิจารณา วาระ 2ขั้นกรรมาธิการ และ สส.ลงมติรับรายมาตรา
-
16 มิ.ย. 64
สส.พิจารณา วาระ 3ขั้นลงมติเห็นชอบ
-
20 ม.ค. 64
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ