ร่าง พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
22 ต.ค. 67
หลักการ : มีสาระสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ดังนี้ ๑. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๓ (๒)) (ร่างมาตรา ๓) ๒. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดินและแก้ไขเพิ่มเติม ให้การนำหลักประกันอย่างอื่นมาค้ำประกันแทนในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค (แก้ไขเพิ่มเติมมมาตรา ๔๓ และมาตรา ๕๒) (ร่างมาตรา ๔ และร่างมาตรา ๗) ๓. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดิน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๔) (ร่างมาตรา ๕) ๔. แก้ไขเพิ่มเติมให้การจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรสามารถจัดเก็บได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔๙) (ร่างมาตรา ๖) ๕. แก้ไขเพิ่มเติมสถานที่ปิดประกาศและการเผยแพร่คำขอยกเลิกการจัดสรรที่ดิน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๕๕) (ร่างมาตรา ๘) ๖. แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษของผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือ ผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายตามมาตรา ๕๒ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๖๕) (ร่างมาตรา ๙) ๗. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับบรรดาระเบียบที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีระเบียบที่ออก ตามความในพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา ๑๐) เหตุผล : พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน สมควรปรับปรุงบทบัญญัติบางประการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้อง
เส้นทางกฎหมาย
-
2 เม.ย. 68
สส.พิจารณา วาระ 2ขั้นกรรมาธิการ และ สส.ลงมติรับรายมาตรา
-
2 เม.ย. 68
สส.พิจารณา วาระ 3ขั้นลงมติเห็นชอบ
-
30 ต.ค. 67
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ