ร่าง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่
30 ต.ค. 67

อนุทิน ชาญวีรกูล ครม. ชุดที่ 64 (2567)
พรรคภูมิใจไทยหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ เพื่อกำหนดให้กรณีที่มีบรรดาบทบัญญัติที่กำหนดห้ามมิให้ใช้กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในท้องถิ่น ในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล ให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลไป (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓) เหตุผล โดยที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล เป็นบุคคลในพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยมีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติ หรือโรคระบาดร้ายแรง การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยประนีประนอมและจัดการระงับปัญหาความขัดแย้งในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ ซึ่งไม่ได้เป็นการทับช้อนกับอำนาจหน้าที่ ของหน่วยงานอื่น ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้มีการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยบริหารตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ดังนั้น เพื่อให้คงมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในทุกตำบล หมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย
ผู้ร่วมเสนอ 24 คน

พรรคภูมิใจไทย
24 คน
เรียงตามตัวอักษร
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ