พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ 13)
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก
3 ก.พ. 64
คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 62 (2562)
ร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก มีสาระสำคัญคือ เพิ่มอัตราโทษสำหรับผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ โดยให้จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000-100,000 บาท และยังเพิ่มอัตราโทษสำหรับการขับรถเร็วเกินกำหนด ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หากขับรถย้อนศร ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย จะปรับไม่เกิน 2,000 บาท และเพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น เป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้ง ยังมีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการแข่งรถ โดยกำหนดให้การรวมกลุ่มหรือมั่วสุมในทางหรือสาธารณสถานใกล้ทาง พร้อมด้วยรถตั้งแต่ 5 คันขึ้นไป ในลักษณะนัดหมายเพื่อแข่งรถ รวมกลุ่มโดยมีการดัดแปลงหรือปรับแต่งรถ หรือ มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันแสดงให้เห็นว่าจะทำการแข่งรถ ต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง (การแข่งรถในทาง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) ส่วนผู้จัดแข่งรถ มีการกำหนดโสำหรับผู้โฆษณา ประกาศ ชักชวน ให้มีการแข่งรถ โดยมีอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนร้านรับแต่งรถ หากมีรถที่ถูกนำไปใช้แข่งรถ ต้องรับโทษในฐานะผู้สนับสนุน คือ ต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ การกำหนดเรื่องการรัดเข็มขัดนิรภัย โดยรถที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง ส่วนรถกระบะ ผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งตอนหน้า ส่วนกรณีเป็นรถกระบะสองตอนผู้โดยสารตอนหลัง ต้องรัดเข็มขัดนิรภัย ด้วย หากฝ่าฝืนไม่รัดเข็มขัด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
เส้นทางกฎหมาย
-
5 ก.ค. 65
ออกเป็นกฎหมาย -
7 พ.ค. 65
ออกเป็นกฎหมาย - สว.พิจารณา วาระ 3
พิจารณาให้ความเห็นชอบ
- สว.พิจารณา วาระ 2
อยู่ระหว่างการพิจารณา
-
16 มิ.ย. 64
สส.พิจารณา วาระ 2เกี่ยวด้วยการเงิน
-
16 มิ.ย. 64
สส.พิจารณา วาระ 3ขั้นลงมติเห็นชอบ
-
7 พ.ค. 64
สว.พิจารณา วาระ 1รับร่าง พ.ร.บ. ไว้พิจารณา
-
10 ก.พ. 64
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ