ร่าง พ.ร.บ.ล้มละลาย
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย
11 ธ.ค. 67
หลักการ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้ของลูกหนี้ที่ร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการในหมวด ๓/๓ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๙๐/๓ มาตรา ๙๐/๔ (๑) และมาตรา ๙๐/๖ (๒)) (๒) แก้ไขเพิ่มเติมกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขานดย่อม (แก้ไขเพิ่มเติมหมวด ๓/๒ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม มาตรา ๙๐/๙๑ ถึงมาตรา ๙๐/๑๓๔ (๓) กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัด (เพิ่มหมวด ๓/๓ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัด มาตรา ๙๐/๑๓๕ ถึงมาตรา ๙๐/๑๕๒) (๔) กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา (เพิ่มหมวด ๓/๔ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา มาตรา ๙๐/๑๕๓ ถึงมาตรา ๙๐/๑๘๐) เหตุผล หมวด ๓/๒ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่่อม แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ยัมีข้อจำกัดและไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งคุ้มครองเจ้าหนี้ ผู้คำประกัน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้เพิ่มเติมกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัด เป็นทางเลือกในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่อาจตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันได้
เส้นทางกฎหมาย
-
15 ม.ค. 68
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ