คำสัญญาของพรรคการเมือง
พรรคเพื่อไทย
จัดทำ “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” โดยคงรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและผ่านขั้นตอนการออกเสียงลงประชามติโดยประชาชน
กำลังดำเนินการ
เราพบข้อมูลความคืบหน้า แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้สัญญาไว้
หมวด
บริหารราชการความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง
สถานะ
กำลังดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
10 ต.ค. 2567
นายกยึดมั่นร่างรธน.ใหม่ พรบ.ประชามติผ่านฉลุยในสภาผู้แทนฯ
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า สภาผู้แทนฯ ผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เดินหน้าร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปัจจุบันสภาเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกฎหมายเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งจากรัฐธรรมนูญ
18 ก.ย. 2567
เปิดร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทย 6 ประเด็น แก้ไขข้อกำหนด มติและคำวินิจฉัย ศร. ให้ใช้เสียง 2 ใน 3 เดิมกำหนดให้ถือเสียงข้างมาก
12 ก.ย. 2567
คณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามรายละเอียดดังนี้
รัฐบาลจะเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยเร็วที่สุด โดยยึดโยงกับประชาชนและหลักการของประชาธิปไตย สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล เคารพพหุวัฒนธรรม เพื่อเป็นบันไดสู่การพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยมีเสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญ รวมถึงการสร้างสันติภาพและสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน
12 ก.ย. 2567
เปิดคำแถลงนโยบาย "รัฐบาลแพทองธาร" ต่อรัฐสภา ฉบับเต็ม
12 ก.ย. 2567
นายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา มั่นใจเป็นรัฐบาลแห่ง “ความหวัง โอกาส และความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม” ผลักดันร่างรธน.
21 ส.ค. 2567
สภาผ่านร่างกฎหมายประชามติ เปิดทางร่างรธน.ใหม่
25 เม.ย. 2567
ครม.เห็นชอบหลักการแนวทางเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยทำประชามติ 3 ครั้ง
24 เม.ย. 2567
โฆษกรัฐบาลเผย ครม. พิจารณารายงานผลการดำเนินงานของ คกก. เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ
23 เม.ย. 2567
นายกฯ เผย ครม. เห็นชอบหลักการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญเสนอ
10 ธ.ค. 2566
นางรัดเกล้าฯ รองโฆษกฯ เผยขณะนี้ดำเนินการรับฟังครบทั้ง 4 ภาคของไทยเรียบร้อยแล้ว พร้อมย้ำรัฐธรรมนูญมีความเกี่ยวพันกับประชาชนทุกคน
25 พ.ย. 2566
รัฐบาลเดินหน้าคู่ขนานศึกษาการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ “ชนินทร์” เชื่อได้ข้อเสนอการทำประชามติต่อ ครม. ภายในสิ้นปี
25 พ.ย. 2566
โฆษกรัฐบาลเผยฯ การลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คืบหน้าไปกว่าครึ่งแล้ว
26 ก.ย. 2566
รวบรวมรายชื่อคณะกรรมการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญแล้วกว่า 20 คน คาดว่าจะเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสัปดาห์หน้า
19 ก.ย. 2566
เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดทางทำประชามติพร้อมสอบถามประชาชนเห็นด้วยในแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
11 ก.ย. 2566
คณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามรายละเอียดดังนี้
การแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยรัฐบาลจะหารือแนวทางในการทำประชามติที่ให้ความสำคัญกับการทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมออกแบบกฎ กติกาที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัยและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รวมถึงการหารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภาเพื่อให้ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
พบความเคลื่อนไหวที่อัพเดตกว่านี้ หรือ มีข้อทักท้วงการจัดสถานะของนโยบายนี้?
ทีมงานยินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้สมบูรณ์และสมเหตุสมผลที่สุด
สถานะคำสัญญา
สถานะคำสัญญา
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ
ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง
หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
© Parliament Watch 2023