คำสัญญาของพรรคการเมือง
พรรคเพื่อไทย
ทวงคืนอากาศสะอาด แก้ปัญหา PM 2.5 ที่ทุกต้นตอ หัวใจของการปราบฝุ่นคือการผลักดันพ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน สร้างความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวางโครงสร้างให้พร้อมต่อการรับมือ เน้นที่การเจรจาระหว่างประเทศตัดปัญหาที่ต้นตอ
ระยะสั้นทันทีหน่วยงานรัฐต้องแจ้งเตือนค่าฝุ่นล่วงหน้าให้ประชาชนวางแผนได้กรณีฝุ่นสูงจะมีการอพยพกลุ่มเสี่ยงให้ไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย แบบเดียวกับที่รับมือกับภัยพิบัติอื่นๆ พร้อมทั้งแจกหน้ากากให้กลุ่มเปราะบางรวมถึงสั่งหยุดโรงเรียนเพื่อลดความเสี่ยง
ระยะยาว ต้องมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ ให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการปัญหาฝุ่น บังคับใช้กฎหมายกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
กำลังดำเนินการ
เราพบข้อมูลความคืบหน้า แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ได้สัญญาไว้

อัพเดตข้อมูล: 29 พ.ย. 2567

แชร์คำสัญญา
ความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง

สถานะ
กำลังดำเนินการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
10 ต.ค. 2567
พรบ. อากาศสะอาดทั้ง 7 ฉบับ ผ่านสภาผู้แทนฯ และมีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาแล้ว
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า ที่ประชุมสภาฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 443 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดที่ ครม. เป็นผู้เสนอ และฉบับอื่นรวม 7 ฉบับ และมีการตั้งคณะกรรมาธิการฯ แต่ยังไม่พบความเคลื่อนไหวหลังจากนั้น อาจด้วยความซับซ้อนของแต่ละกฎหมายที่ถูกยื่นโดยหลายฝ่ายทั้ง รัฐบาล ฝ่ายค้าน และภาคประชาชน
10 ต.ค. 2567
มีการแจ้งค่า PM 2.5 ผ่านการแถลงการณ์ และพบการแจ้งให้ ผอ. โรงเรียน หรือผอ.เขต สามารถสั่งหยุดเรียนได้บางพื้นที่
ข้อสรุปโดยทีมบรรณาธิการพบว่า หน่วยงานรัฐฯ โดยเฉพาะ กทม. มีการแจ้งค่า PM 2.5 ผ่านการแถลงการณ์และผ่านทาง SMS LINE ALERT และพบการแจ้งให้ ผอ. โรงเรียนและ ผอ.เขตสามารถสั่งหยุดเรียนได้ นอกเหนือจาก กทม. ยังไม่พบการกระทำที่ชัดเจนดังกล่าว
3 ก.ย. 2567
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแพทองธาร คณะที่ 64
เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดที่ 64 จำนวน 35 คน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันถัดมา พรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งมากที่สุด 16 คน 21 ตำแหน่ง รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย 8 คน 9 ตำแหน่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ 4 คน 5 ตำแหน่ง และพรรคอื่น ๆ รวมผู้ที่ดำรงตำแหน่งเดิมจากคณะรัฐมนตรีก่อนหน้าจำนวน 24 คน
16 ส.ค. 2567
แพทองธาร ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สรวงศ์ เทียนทอง เสนอชื่อแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฯ ที่ประชุมมีมติเลือกแพทองธารเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ด้วยคะแนน 319 เสียงเห็นชอบ 145 เสียงไม่เห็นชอบ งดออกเสียง 27 เสียง และมีสมาชิกที่ไม่มาประชุม 2 คน
14 ส.ค. 2567
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้ถอดถอนเศรษฐาจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่พิชิตเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 สิ้นสุดลงทั้งคณะ
27 เม.ย. 2567
ปรับคณะรัฐมนตรี เศรษฐา 1/1
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 มีการปรับคณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีถูกปรับออก 4 คน ถูกโยกย้าย 6 คน และแต่งตั้งเพิ่ม 8 คน
14 ก.พ. 2567
ส่ง SMS เตือนหลัง "ฝุ่นพิษ" สีแดง 31 พื้นที่บางแห่งทะลุ 3 เท่า
26 ม.ค. 2567
ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ…(ฉบับครม.)
17 ม.ค. 2567
มติสภาฯ เอกฉันท์ 443 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด
20 ต.ค. 2566
โฆษกรัฐบาลแจ้งเตือนฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วงปลายฝนต้นหนาว ย้ำประชาชนปฏิบัติตนตามคำแนะนำ และติดตามสถานการณ์ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Air4Thai
11 ก.ย. 2566
คณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามรายละเอียดดังนี้
รัฐบาลจะดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมและเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดินและน้ำคืนสู่ธรรมชาติ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศและอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุ์สัตว์ป่า แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมและมลภาวะเพื่อคืนสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่คนไทย พร้อมทั้งวางแผนรับมือและป้องกันวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลจะแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นวาระแห่งชาติโดยเฉพาะเรื่องฝุ่นควัน PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนด้วยการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจทั้งทางบวกและทางลบในภาคเกษตรกรรม ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อประเมินผลและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
1 ก.ย. 2566
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเศรษฐา คณะที่ 63
เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ พรรคเพื่อไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งมากที่สุด 17 คน 20 ตำแหน่ง รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอื่นๆ นายเศรษฐา นายกรัฐมนตรียังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
22 ส.ค. 2566
เศรษฐา ทวีสิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เสนอชื่อเศรษฐา ทวีสินให้รัฐสภาพิจารณาเป็นนายกรัฐมนตรี เศรษฐาได้รับคะแนนเห็นชอบ 482 เสียงจาก 728 เสียง เกินครึ่งตามรัฐธรรมนูญ ทำให้เศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย
พบความเคลื่อนไหวที่อัพเดตกว่านี้ หรือ มีข้อทักท้วงการจัดสถานะของนโยบายนี้?
ทีมงานยินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้สมบูรณ์และสมเหตุสมผลที่สุด
แจ้ง/ทักท้วงข้อมูล

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]