ร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก (วาระ 1)

ชื่อทางการ

ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก

มติผ่าน

วันที่

10 ก.พ. 2564

ประเภทการประชุม

ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

องค์ประชุม

สรุปเนื้อหา

"ร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบก มีสาระสำคัญคือ เพิ่มอัตราโทษสำหรับผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ โดยให้จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000-100,000 บาท และยังเพิ่มอัตราโทษสำหรับการขับรถเร็วเกินกำหนด ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หากขับรถย้อนศร ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย จะปรับไม่เกิน 2,000 บาท และเพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น เป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้ง ยังมีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการแข่งรถ โดยกำหนดให้การรวมกลุ่มหรือมั่วสุมในทางหรือสาธารณสถานใกล้ทาง พร้อมด้วยรถตั้งแต่ 5 คันขึ้นไป ในลักษณะนัดหมายเพื่อแข่งรถ รวมกลุ่มโดยมีการดัดแปลงหรือปรับแต่งรถ หรือ มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันแสดงให้เห็นว่าจะทำการแข่งรถ ต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง (การแข่งรถในทาง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) ส่วนผู้จัดแข่งรถ มีการกำหนดโสำหรับผู้โฆษณา ประกาศ ชักชวน ให้มีการแข่งรถ โดยมีอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนร้านรับแต่งรถ หากมีรถที่ถูกนำไปใช้แข่งรถ ต้องรับโทษในฐานะผู้สนับสนุน คือ ต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ การกำหนดเรื่องการรัดเข็มขัดนิรภัย โดยรถที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง ส่วนรถกระบะ ผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ต้องรัดเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งตอนหน้า ส่วนกรณีเป็นรถกระบะสองตอนผู้โดยสารตอนหลัง ต้องรัดเข็มขัดนิรภัย ด้วย หากฝ่าฝืนไม่รัดเข็มขัด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท"

ดาวน์โหลดข้อมูล

ใบประมวลผลการลงมติ

อัพเดตข้อมูล: 29 พ.ย. 2567

แชร์หน้านี้

ผลการลงมติ

ไม่พบข้อมูล

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]