ร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (วาระ 3)
ชื่อทางการ
ร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
สรุปเนื้อหา
ร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ได้มีการแก้ไขให้ลิขสิทธิ์ของภาพถ่ายมีอายุเท่ากับตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์ และยังคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่อไปอีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Copyright Treaty : WCT) อีกทั้ง ยังกำหนดความรับผิดให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่ประกาศมาตรการยกเลิกการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ซ้ำ ทั้งนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ต้องรับผิดในกรณีที่เป็นสื่อกลางส่งผ่านข้อมูลโดยไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มส่งผ่านข้อมูล หรือเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นการชั่วคราว หรือ รับฝากข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่รู้ว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ในร่างกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยว่า หากเจ้าของลิทสิทธิ์ได้แจ้งต่อผู้ให้บริการว่ามีการละเมิดสิทธิ์ ให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เอาข้อมูลออกจากระบบหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระงับการเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือแหล่งอ้างอิงของข้อมูลคอมพิวเตอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ยังกำหนดความผิดฐานการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีหรือการทำให้มาตรการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ไม่เกิดผล และการให้บริการ ผลิต ขาย หรือแจกจ่าย ซึ่งบริการ ผลิตภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เพื่อทำให้มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล ต้องระวางโทษขั้นค่ำคือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท"
ผลการลงมติ
สรุปผลการลงมติ
สมาชิกสภา
281
เห็นด้วย
274
ไม่เห็นด้วย
0
งดออกเสียง
5
ไม่ลงคะแนน
2
ลา / ขาดลงมติ
0
งดออกเสียง vs. ไม่ลงคะแนน
ผลการลงมติรายสังกัด
*หมายเหตุ: ข้อมูลสังกัด ยึดตามวันที่ลงมติ
สส.ฝ่ายรัฐบาล
215 คน
209 คน
เห็นด้วย
209
4
2
พลังประชารัฐ
99 คน
97
2
ภูมิใจไทย
57 คน
57
พลังท้องถิ่นไท
4 คน
4
ประชาธิปัตย์
33 คน
32
1
ชาติไทยพัฒนา
8 คน
8
ชาติพัฒนากล้า
4 คน
4
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย
2 คน
2
เศรษฐกิจใหม่
3 คน
3
พลังธรรมใหม่
1 คน
1
ประชาภิวัฒน์
1 คน
1
รวมพลัง
1 คน
1
ประชาธิปไตยใหม่
1 คน
1
รวมแผ่นดิน
1 คน
1
สส.ฝ่ายค้าน
66 คน
65 คน
เห็นด้วย
65
1
เพื่อไทย
44 คน
43
1
ก้าวไกล
17 คน
17
เพื่อชาติ
2 คน
2
เสรีรวมไทย
1 คน
1
ประชาชาติ
2 คน
2
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ