ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (วาระ 3)

ชื่อทางการ

ร่างพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง

มติไม่ผ่าน

วันที่

22 มิ.ย. 2565

ประเภทการประชุม

ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

องค์ประชุม

สรุปเนื้อหา

ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง) มีหลักการสำคัญ คือ การแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 โดยเพิ่มนิยามคำว่า "กระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง" (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4) และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นบัญชีอัตราขึ้นบัญชีสูงสุด และค่าขึ้นบัญชีที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุด ประเภทและค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง (ร่างมาตรา 4 เพิ่มมาตรา 6 (12/1) (12/2)) และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาเครื่องสำอาง และกำหนดอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขค่าขึ้นบัญญีและค่าใช้จายที่จะจัดเก็บและหลักเกณฑ์ในการรับเงินและจ่ายเงินดังกล่าวในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอางตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 21 และเพิ่มมาตรา 21/1 มาตรา 21/2 และมาตรา 21/3) และการกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับประกาศที่ออกตาม คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 77/2559 เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้นำมาใช้แก่กระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ จนกว่าจะมีการออกประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้

ดาวน์โหลดข้อมูล

ใบประมวลผลการลงมติ

อัพเดตข้อมูล: 24 ต.ค. 2567

แชร์หน้านี้

ผลการลงมติ

ไม่พบข้อมูล

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]