ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง คสช. ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษา (วาระ 1)

ชื่อทางการ

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560

รอตรวจสอบ

วันที่

15 ก.ย. 2564

ประเภทการประชุม

ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

องค์ประชุม

สรุปเนื้อหา

"ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง คสช. ที่ 19/2560 มีสาระสำคัญ คือ การให้อำนาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ไปเป็นของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา รวมถึงการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณีโดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง และให้มี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา โดยจำนวน องค์ประกอบ หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนด ทั้งนี้ ให้ กศจ.ยังคงมีอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้เดิมตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เช่น อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการจัดการศึกษา เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาในภาพของจังหวัดทุกระดับ และทุกประเภท รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายการ ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด ตลอดจนการยุบรวม เลิกสถานศึกษา หรือแม้กระทั่งการจัดตั้งศูนย์การเรียนที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ยังคงมีอยู่เช่นเดิม"

ดาวน์โหลดข้อมูล

ใบประมวลผลการลงมติ

อัพเดตข้อมูล: 29 พ.ย. 2567

แชร์หน้านี้

ผลการลงมติ

ไม่พบข้อมูล

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]