แก้ รธน. เพิ่มสิทธิพื้นฐาน (เพื่อไทย) (วาระ 1)
สรุปเนื้อหา
ร่างแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อไทยฉบับที่ 2 เป็นการแก้ไขในประเด็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้แก่ 1) เพิ่มเติมมาตรา 25 ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ เขียนเพิ่มวรรคห้า ว่า "สิทธิหรือเสรีภาพตามมาตรานี้ให้หมายความรวมถึงสิทธิหรือเสรีภาพตามพันธกรณีและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย" 2) เพิ่มเติมมาตรา 29 เรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเอาสิทธิได้รับการพิจารณาประกันตัว "อย่างรวดเร็ว" กลับมา ซึ่งเคยมีอยู่แต่ฉบับ 2560 ตัดออก เพิ่มหลักการว่า การไม่ให้ประกันตัวต้องเป็นกรณีเชื่อว่าจะหลบหนีเท่านั้น และจำเลยจะถูกคุมขังระหว่างพิจารณานานกว่าหนึ่งปีไม่ได้ 3) เพิ่มมาตรา 29/1 เอาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกลับมา ซึ่งเขียนคล้ายกับฉบับปี 2550 สิทธิเหล่านี้เคยเขียนไว้ชัดเจนในฉบับปี 2550 แต่ถูกตัดออกไปในฉบับปี 2560 4) เพิ่มเติมมาตรา 34 เรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นว่า การออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพจะจำกัดการติชมด้วยความเป็นธรรมไม่ได้ 5) แก้ไขมาตรา 45 เรื่องสิทธิจัดตั้งพรรคการเมือง โดยผ่อนปรนเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยเขียนด้วยว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองจะต้องไม่มีขึ้นตอนและความยุ่งยากเกินควร ส่วนการยุบพรรคการเมืองจะทำได้เฉพาะกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6) แก้ไขมาตรา 47 เรื่องสิทธิทางสาธารณสุข ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐานและได้รับหลักประกันสุขภาพโดยถ้วนหน้า" เพิ่มคำว่า "สิทธิเสมอกัน" จากที่ฉบับปี 2560 เขียนเพียงว่ามีสิทธิ และยืนยันเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไว้ในรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีกระแสว่า ระบบหลักประกันสุขภาพอาถูกตัดทอนหรือยกเลิกภายใต้รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 7) เพิ่มมาตรา 49/1 เป็นบทต่อต้านการรัฐประหาร ห้ามศาลและหน่วยงานรัฐยอมรับการรัฐประหาร ให้ความผิดฐานทำรัฐประหารไม่มีอายุความ ห้ามการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร กำหนดสิทธิของประชาชนที่จะต่อต้านการรัฐประหารโดยสันติวิธี 8) แก้ไขมาตรา 129 วรรคสี่ ให้กรรมาธิการ ส.ส. มีอำนาจเรียกเอกสารและเรียกบุคคลมาให้ข้อเท็จจริง และให้คำสั่งเรียกมีผลทางกฎหมาย การเสนอแก้ไขมาตรานี้สืบเนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่า การกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ขัดหรือแยังต่อรัฐธรมนูญ
ผลการลงมติ
สรุปผลการลงมติ
สมาชิกสภา
662
เห็นด้วย
346
ไม่เห็นด้วย
299
งดออกเสียง
17
ไม่ลงคะแนน
0
ลา / ขาดลงมติ
0
งดออกเสียง vs. ไม่ลงคะแนน
ผลการลงมติรายสังกัด
*หมายเหตุ: ข้อมูลสังกัด ยึดตามวันที่ลงมติ
สส.ฝ่ายรัฐบาล
228 คน
124 คน
เห็นด้วย
124
102
2
ประชาธิปัตย์
45 คน
44
1
พลังประชารัฐ
90 คน
90
ภูมิใจไทย
56 คน
55
1
พลังท้องถิ่นไท
5 คน
5
รวมพลัง
5 คน
5
เพื่อชาติไทย
1 คน
1
ชาติไทยพัฒนา
7 คน
7
ชาติพัฒนากล้า
4 คน
4
พลังปวงชนไทย
1 คน
1
เศรษฐกิจใหม่
6 คน
6
ครูไทยเพื่อประชาชน
1 คน
1
ไทยศรีวิไลย์
1 คน
1
รักษ์ผืนป่าประเทศไทย
1 คน
1
พลังธรรมใหม่
1 คน
1
ประชาภิวัฒน์
1 คน
1
ประชาธิปไตยใหม่
1 คน
1
ไทรักธรรม
1 คน
1
รวมแผ่นดิน
1 คน
1
สส.ฝ่ายค้าน
200 คน
200 คน
เห็นด้วย
200
ประชาชาติ
4 คน
4
เพื่อไทย
130 คน
130
ก้าวไกล
50 คน
50
เสรีรวมไทย
11 คน
11
เพื่อชาติ
5 คน
5
สส.ไม่ทราบฝ่าย
15 คน
14 คน
เห็นด้วย
14
1
เศรษฐกิจไทย
14 คน
14
เราทำได้
1 คน
1
สว.
219 คน
196 คน
ไม่เห็นด้วย
8
196
15
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ