ร่าง พ.ร.บ.มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง

ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง

ออกเป็นกฎหมาย
ใช้เวลา 314 วัน
วันที่เสนอ

28 ธ.ค. 64

เสนอโดย

คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 63 (2566)


สรุปเนื้อหา

ให้มีกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เหตุผล เนื่องจากผู้กระทำความผิดอาญาบางประเภทที่เกี่ยวข้องเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เช่น การฆาตกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก การทำร้ายจนเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคล ไปเรียกค่าไถ่ เมื่อได้รับการถูกจำคุกจนพ้นกำหนดโทษและไก้รับการปล่อยตัวสู่สังคมแล้ว ถึงแม้ว่าจะมี การติดตามจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจบ้างแต่ไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายและไม่มีประสิทธิผล ในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ผู้กระทำความผืดเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดในรูปแบบเดียวกันหรือรูปแบบใกล้เคียงกันซ้ำอีก สมควรมีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดดังกล่าว โดยการกำหนดให้มีมาตรการ แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด มาตรการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ และมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ เพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหายจากการกระทำความผิดที่อาจเกิดขึ้นอีก และเพื่อส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องคำสั่งดังกล่าวอย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

หมวด
ยุติธรรม
สิทธิมนุษยชน

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์แหล่งข้อมูลต้นทาง

อัพเดตข้อมูล: 26 มิ.ย. 2567

แชร์หน้านี้

เส้นทางกฎหมาย


สถานะ
ออกเป็นกฎหมาย
  1. 7 พ.ย. 65

    สว.พิจารณา วาระ 3

    พิจารณาให้ความเห็นชอบ

  2. 7 พ.ย. 65

    สว.พิจารณา วาระ 2

    อยู่ระหว่างการพิจารณา

  3. 25 ต.ค. 65

    ออกเป็นกฎหมาย

  4. สว.พิจารณา วาระ 1

    รับร่าง พ.ร.บ. ไว้พิจารณา

  5. 23 ก.พ. 65

    สส.พิจารณา วาระ 3

    ขั้นลงมติเห็นชอบ

  1. 2 ก.พ. 65

    สส.พิจารณา วาระ 1

    รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]