ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเท่าเทียม
12 ธ.ค. 67

อนุทิน ชาญวีรกูล ครม. ชุดที่ 64 (2567)
พรรคภูมิใจไทยให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาเท่าเทียม เหตุผล โดยที่ในปัจจุบันการจัดการการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษายังมีความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันระหว่างการเรียนการสอนในเขตชนบทและเขตเมือง โดยผู้เรียนในเขตชนบทจะขาดแคลนทั้งครูที่มีคุณภาพ สถานที่และอุปกรณ์การเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนในเขตชนบทไม่สามารถแข่งขันกับผู้เรียนในเขตเมืองได้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพเพราะเหตุแห่งความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องดังกล่าว การทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งจะต้องดำเนินการผ่านระบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับสถานศึกษาและกระทรวงที่รับผิดชอบอันจะทำให้ผู้เรียนในทุกระดับพัฒนาตนเองไปเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าของประเทศในอนาคต จึงจำเป็นต้องให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถจัดตั้งธนาคารหน่วยกิต การสอบเทียบ แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ การให้ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร การเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษา การรับรองและให้วุฒิบัตรทักษะ และแฟ้มสะสมผลการเรียนรู้ และเมื่อกระทรวงได้ดำเนินการไประยะหนึ่งแล้ว ควรให้มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาเท่าเทียมเป็นองค์การมหาชนขึ้น เพื่อให้สถาบันนี้รับผิดชอบงานต่าง ๆ ตามที่กระทรวงได้ดำเนินการในขั้นต้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย
ผู้ร่วมเสนอ 24 คน

พรรคภูมิใจไทย
23 คน

ไม่พบข้อมูลพรรค
1 คน
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ