ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
15 ม.ค. 68

พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. ชุดที่ 26 (2566)
พรรคประชาชนโดยที่การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ในการเดินตามเส้นทางที่ตนใฝ่ฝัน รวมถึงในการพัฒนาประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งในมิติของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การสร้างความเสมอภาคทาง โอกาส และการฟูมฟักวัฒนธรรมประชาธิปไตยในสังคม แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จึงควรมีกฎหมายที่วางหลักการที่สำคัญในการรับประกันสิทธิผู้เรียนในการเข้าถึงการศึกษาที่ มีคุณภาพและสวัสดิการที่ครอบคลุม คุ้มครองสิทธิผู้จัดการศึกษาที่หลากหลายอย่างเสมอภาค พัฒนาหลักสูตรให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง วางกลไกในการประกันคุณภาพการศึกษา ยกระดับประสิทธิภาพในการทำงานของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา กระตุ้นการผลิตและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณ ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เรียน สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมการ เรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนทุกช่วงวัย วางแนวทางการออกแบบโครงสร้างของหน่วยงานด้าน การศึกษาให้ทำงานได้อย่างบูรณาการและคล่องตัวโดยลดการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน สนับสนุน การกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาโดยตรง พื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพิ่มการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา จึงสมควรมีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติเพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทาง การบริหารและการจัดการศึกษาในอนาคต
รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย
ผู้ร่วมเสนอ 44 คน

พรรคประชาชน
43 คน

ไม่พบข้อมูลพรรค
1 คน
เรียงตามตัวอักษร
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ