ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ

ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ

ตกไป
ใช้เวลา 1346 วัน
วันที่เสนอ

16 ก.พ. 64

เสนอโดย

สรุปเนื้อหา

โดยที่สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทในการคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุในเรื่องต่าง ๆ ให้เพิ่มขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๔๘ กำหนดให้บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อำนาจและหน้าที่ของกรมกิจการผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้สูงอายุจากสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพเป็นสิทธิได้รับบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า เพื่อสร้างหลักประกันด้านรายได้ที่เพียงพอในแต่ละเดือนไม่น้อยกว่าระดับรายได้ตามเส้นแบ่งความยากจนที่กำหนดโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบกับปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รัฐบาลจึงมีนโยบายและมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุให้เงินบำนาญพื้นฐานเพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้รับสวัสดิการที่จำเป็น แต่เนื่องจากกองทุนผู้สูงอายุที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม การสนับสนุนและการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุมีรายได้ ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว จึงสมควรเพิ่มบทบัญญัติเรื่อง การจ่ายเงินบำนาญพื้นฐานเพื่อให้ผู้สูงอายุ มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารจัดกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพและมีฐานะเป็นนิติบุคคล รวมทั้งกำหนดที่มาของเงินกองทุนผู้สูงอายุให้มีรายได้จากเงินบำรุงตามกฎหมาย ต่าง ๆ และการออกสลาก รวมทั้งมีรายได้อื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

หมวด
สวัสดิการสังคม
เศรษฐกิจ

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์แหล่งข้อมูลต้นทาง

อัพเดตข้อมูล: 24 ต.ค. 2567

แชร์หน้านี้

เส้นทางกฎหมาย


สถานะ
ตกไป
    1. หมายเหตุ

      ตกไปเนื่องจากยุบสภา

    เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

    ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
    ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]