ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

ตกไป
ใช้เวลา 195 วัน
วันที่เสนอ

24 ส.ค. 66

เสนอโดย

สรุปเนื้อหา

๑. ยกเลิกบทนิยามคำว่า “นายจ้าง” “ลูกจ้าง” “วันลา” เดิม และกำหนดให้ “นายจ้าง” ครอบคลุมถึงการจ้างงานด้วยสัญญาต่าง ๆ เพื่อให้อีกบุคคลได้รับค่าตอบแทน รวมถึงผู้ประกอบกิจการหรือภาครัฐ “ลูกจ้าง” คือ ผู้รับจ้างซึ่งอยู่ภายใต้สัญญาใด ๆ ทั้งปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ปรากฏ เป็นลายลักษณ์อักษร และ “วันลา” รวมถึงการลาเพื่อการอื่นใดที่ปรากฏในพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างมาตรา ๓ และร่างมาตรา ๔) ๒. เพิ่มบทนิยาม คำว่า “การจ้างงานรายเดือน” เป็นการจ้างงานที่มีลักษณะเป็นงานประจำและเต็มเวลา รวมถึงการได้รับค่าจ้างในวันหยุด (ร่างมาตรา ๕) ๓. แก้ไขให้การจ้างงานมีความเท่าเทียมในทุกด้าน ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่แสดงออกถึงการกีดกัน แบ่งแยก จำกัดสิทธิ (ร่างมาตรา ๖) ๔. แก้ไขให้เวลาทำงานของลูกจ้าง เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน สี่สิบชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสามสิบห้าชั่วโมง (ร่างมาตรา ๗) ๕. แก้ไขให้การจ้างงานในสถานประกอบการที่มีการจ้างงานรายวันและรายเดือน นายจ้างจะต้องจ้างเป็นรายเดือนทั้งหมดโดยไม่เลือกปฏิบัติ เว้นแต่ลักษณะการจ้างานที่มีความเฉพาะ ให้ใช้ระบบสัญญาจ้างแบบกำหนดระยะเวลาโดยรับรองรายรับไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำและให้ได้รับสวัสดิการเท่ากับพนักงาน ระบบอื่นของนายจ้าง (ร่างมาตรา ๘) ๖. แก้ไขให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าสองวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินห้าวัน (ร่างมาตรา ๙) ๒.๗ แก้ไขให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบวันทำงาน และนายจ้างอาจกำหนดวันลาหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าสิบวัน และนายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน (ร่างมาตรา ๑๐) ๒.๘ แก้ไขให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาไปดูแลบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ที่พำนักอยู่ในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลทางร่างกายและจิตใจ ปีละไม่เกิน ๑๕ วันทำงาน (ร่างมาตรา ๑๑) ๒.๙ แก้ไขให้นายจ้างจัดสถานที่ที่เหมาะสมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ลูกจ้างสามารถให้นมบุตรหรือบีบเก็บน้ำนมในที่ทำงาน (ร่างมาตรา ๑๒) ๒.๑๐ แก้ไขให้ ต้องปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มทุกปีในอัตราไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรืออัตราเงินเฟ้อ เว้นแต่ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ อาจยกเว้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดในปีนั้นได้ และให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและค่าจ้างตามประสบการณ์ให้ปรับเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งต่ออายุงานหนึ่งปี ในกรณีที่ลูกจ้างรับค่าจ้างในอัตรามากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ให้ได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละหนึ่งต่ออายุงานหนึ่งปี และเพิ่มให้สามารถปรับเพิ่มร้อยละการเพิ่มของค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและค่าจ้างตามประสบการณ์ต่ออายุงานหนึ่งปี (ร่างมาตรา ๑๓)

หมวด
แรงงาน
สวัสดิการสังคม

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์แหล่งข้อมูลต้นทาง

อัพเดตข้อมูล: 26 มิ.ย. 2567

แชร์หน้านี้

รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย


เส้นทางกฎหมาย


สถานะ
ตกไป
  1. หมายเหตุ

    ที่ประชุมไม่รับหลักการวาระที่ 1

  1. 6 มี.ค. 67

    สส.พิจารณา วาระ 1

    รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]