ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
25 ส.ค. 66
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
โดยที่พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีบทบัญญัติ บางประการที่ไม่เหมาะสม กับสภาวการณ์ในปัจจุบัน มีการโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสินค้าอื่น เพื่อเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะธุรกิจผลิตจำหน่ายนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้ง ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สารสนเทศทำให้มีการพัฒนาสื่อในรูปแบบใหม่ ประกอบกับมีกรณีปัญหาการ บังคับใช้กฎหมาย ข้อจำกัด เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คณะกรรมการ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัด คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรุงเทพมหานคร และอำนาจ หน้าที่ของสำนักงาน รวมทั้ง อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีข้อจำกัดหลายประการ มีการออก ใบอนุญาตขายสุราเป็นจำนวนมาก โดยภาครัฐไม่มีนโยบายจำกัดการออกใบอนุญาต ทำให้ไม่สามารถบรรลุ เจตนารมณ์ในการควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลเสียต่อสุขภาพประชาชน ส่งผลกระทบด้านลบทางเศรษฐกิจและสังคม จากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวงกว้างในสังคม จึงมีความ จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ที่รัดกุมที่จะคุ้มครองประชาชน เด็กเยาวชน ทำให้รู้เท่า ทันพิษภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รู้เท่าทัน การตลาดของธุรกิจแอลกอฮอล์ ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสารเสพติดที่สร้างผลเสียต่อสังคมในวงกว้าง มีการจัดประชุมสมัชชาเครือข่ายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้ ภาคประชาชนสามารถยื่นข้อเสนอ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชนเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดประเภท และหน้าที่ของผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันผลกระทบ จากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กำหนดให้คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ได้รับความเสียหายจากผู้ขับขี่ หรือควบคุมยานพาหนะ ที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็น คดีผู้บริโภค ยกเลิก บทลงโทษอาญาในบางกรณีโดยบัญญัติเป็นโทษปรับ ทางปกครองหรือการทำงานบริการ สังคมหรือเพื่อ สาธารณประโยชน์แทน ซึ่งจะเป็นมาตรการป้องกัน จึงจำเป็นที่ต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ