ร่าง พ.ร.บ.โคนมและผลิตภัณฑ์นม
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม
16 ต.ค. 67

กฤดิทัช แสงธนโยธิน สส. ชุดที่ 26 (2566)
พรรคใหม่๑. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “ผลิตภัณฑ์นม” “น้ำนมโค” “เกษตรกรโคนม” และ “ผู้แทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนม” เพื่อให้มีความครอบคลุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓) ๒. เพิ่มบทนิยามคำว่า “ผู้แทนเกษตรกรโคนม” ให้หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของเกษตรกรโคนม และเพิ่มบทนิยามคำว่า “ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนม” ให้หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจการผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งโคนมหรือผลิตภัณฑ์นม หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา ๔ มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓) ๓. ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม” และ “ผู้แทนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม” (ร่างมาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓) ๔. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (ร่างมาตรา ๗ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔) ๕. การแก้ไขเพิ่มเติมการประชุมของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม โดยกำหนดให้ การประชุมของคณะกรรมการอย่างน้อยปีละสี่ครั้ง (ร่างมาตรา ๘ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๙) ๖. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมให้มีความครอบคลุม การดำเนินการทั้งระบบอุตสาหกรรมนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการกำหนดราคาน้ำนมโคและผลิตภัณฑ์นม ทั้งราคาซื้อและราคาจำหน่าย (ร่างมาตรา ๙ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๐) ๗. แก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้การแต่งตั้งคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมให้เสร็จภายในเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา ๑๐)
รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย
ผู้ร่วมเสนอ 19 คน

พรรคท้องที่ไทย
1 คน

พรรคพลังประชารัฐ
12 คน

ไม่พบข้อมูลพรรค
1 คน

พรรคเพื่อไทย
4 คน

พรรคพลังสังคมใหม่
1 คน
เรียงตามตัวอักษร
1 | |
2 | |
3 | |
4 | ![]() นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ |
5 | |
6 | |
7 | |
8 |
เส้นทางกฎหมาย
-
22 ม.ค. 68
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ