ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
28 พ.ค. 67
หลักการ : แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๖๔ ดังนี้ ๑. กำหนดให้มีการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติและการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี (เพิ่มมาตรา ๙/๑) ๒. กำหนดให้หากมีการกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการทั่วไปหรือหากมีการกำหนดวันเลือกตั้งท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ให้กำหนดวันออกเสียงเป็นวันเดียวกัน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๑ วรรคสาม) ๓. กำหนดคะแนนการออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติ และคะแนนการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๓) ๔. กำหนดการจัดทำและการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะมีการออกเสียง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔ วรรคสาม) เหตุผล : โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดให้การออกเสียงตามมาตรา ๙ ต้องถือว่ามีข้อยุติและต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง ในเรื่องที่จัดทำประชามติ ซึ่งการกำหนดให้การออกเสียงทุกประเภทต้องถือว่ามีข้อยุติและการกำหนดคะแนนการออกเสียงดังกล่าวมีจำนวนมากเกินไป จึงยากที่จะได้ข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ ทำให้การออกเสียงประชามติอาจไม่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับ การจัดให้มีการออกเสียงประชามติแต่ละเร่องแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยกำหนดให้การออกเสียงตามมาตรา ๙ มีทั้งกรณีที่เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติ หรือ บางกรณีควรกำหนดให้เป็นการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และกำหนดคะแนนการออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติและการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีมีคะแนนการออกเสียงที่แตกต่างกัน รวมทั้ง กำหนดกรณี หากมีการกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการทั่วไป หรือ หากมีการกำหนดวันเลือกตั้งท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ให้กำหนดวันออกเสียงเป็นวันเดียวกัน นอกจากนี้ควรกำหนดให้การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะมีการออกเสียง ต้องมุ่งให้ ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องที่จะมีการออกเสียงและต้องดำเนินการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะจัดทำประชามติแก่ประชาชนได้รับทราบอย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้
รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย
ผู้ร่วมเสนอ 22 คน
พรรคภูมิใจไทย
21 คน
ไม่พบข้อมูลพรรค
1 คน
เส้นทางกฎหมาย
- สว.พิจารณา วาระ 3
พิจารณาให้ความเห็นชอบ
- สว.พิจารณา วาระ 2
อยู่ระหว่างการพิจารณา
- สว.พิจารณา วาระ 1
รับร่าง พ.ร.บ. ไว้พิจารณา
-
21 ส.ค. 67
สส.พิจารณา วาระ 2ขั้นกรรมาธิการ และ สส.ลงมติรับรายมาตรา
-
21 ส.ค. 67
สส.พิจารณา วาระ 3ขั้นลงมติเห็นชอบ
-
18 มิ.ย. 67
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ