ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
27 พ.ย. 66
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
๑. กำหนดให้บุคคลสองคนไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้ ๒. แก้ไขคำว่า “ชาย” “หญิง” “สามี” “ภริยา” และ “สามีภริยา” เป็น “บุคคล” “ผู้หมั้น” “ผู้รับหมั้น” และ “คู่สมรส” เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้นหรือคู่สมรสไม่ว่าจะมีเพศใด ๓. เพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมกรณีที่คู่หมั้นหรือคู่สมรส ฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔๔๕ และมาตรา ๑๕๑๖ (๑)) ๔. แก้ไขเงื่อนไขระยะเวลาการสมรสใหม่ตามมาตรา ๑๔๕๓ ให้ใช้เฉพาะกับกรณีที่หญิงที่มีชายเป็นคู่สมรสเดิมจะสมรสใหม่กับชายเท่านั้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔๕๓) ๕. กำหนดให้มาตรา ๑๕๐๔ วรรคสอง กรณีหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบตามมาตรา ๑๔๔๘ มีผลใช้บังคับเฉพาะกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเท่านั้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕๐๔) ๖. แก้ไขการอ้างอิงเลขมาตราที่บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕๐๘ วรรคสอง)
เส้นทางกฎหมาย
-
24 ก.ย. 67
ออกเป็นกฎหมาย - สว.พิจารณา วาระ 3
พิจารณาให้ความเห็นชอบ
- สว.พิจารณา วาระ 2
อยู่ระหว่างการพิจารณา
- สว.พิจารณา วาระ 1
รับร่าง พ.ร.บ. ไว้พิจารณา
-
27 มี.ค. 67
สส.พิจารณา วาระ 2ขั้นกรรมาธิการ และ สส.ลงมติรับรายมาตรา
-
27 มี.ค. 67
สส.พิจารณา วาระ 3ขั้นลงมติเห็นชอบ
-
21 ธ.ค. 66
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ