ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม

ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม

กำลังดำเนินการ
ใช้เวลา 196 วัน
วันที่เสนอ

24 ต.ค. 67


สรุปเนื้อหา

ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยมีสาระสำคัญ คือ (๑) ยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๒) แก้ไขปรับปรุงการกำหนดความหมายของบทนิยามต่าง ๆ ให้มีความหมายชัดเจนมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติและรองรับหลักการที่กำหนดขึ้นใหม่ (๓) กำหนดให้มี “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” และ “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” โดยให้มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญบางประการขึ้นใหม่ (๔) กำหนดให้มี “สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” (ส.ป.ก.) เช่นเดิม แต่มีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นบางประการในการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม (๕) จัดตั้ง “กองทุนการปฏิรูปที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม” ขึ้นใน ส.ป.ก. โดยวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินจากกองทุนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น เพื่อการจัดทำระบบสาธารณูปโภคที่ตั้งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและนอกเขตปฏิรูปที่ดินได้ จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ลงทุนพัฒนาที่ดินในกรณีเกษตรกรคืนที่ดินให้แก่ ส.ป.ก. จัดทำระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ซ่อมแซมหรือปรับปรุงระบบน้ำหรือโครงสร้างสาธารณูปโภคในเขตปฏิรูปที่ดินและเขตคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม (๖) กำหนดการได้มาซึ่งที่ดินที่จะใช้เพื่อการปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ได้ โดยหากเป็นที่ดินของรัฐ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน และถ้าเป็นที่ดินของเอกชน ก็ให้ออกกฎกระทรวงกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินและจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินของเอกชนส่วนที่ถือครองเกินสิทธิ (๗) กำหนดให้กรณีที่กิจการที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในการปฏิรูปที่ดิน ให้ ส.ป.ก. และคู่สัญญาได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน (๘) กำหนดให้มีการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินออกเป็น ๕ เขต ได้แก่ (๑) เขตพื้นที่เกษตรกรรม (๒) เขตพื้นที่ส่งเสริมการประกอบเกษตรกรรม (๓) เขตพื้นที่ประกอบกิจการ (๔) เขตพื้นที่ชุมชน และ (๕) เขตพื้นที่เพื่อการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (๙) กำหนดให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร หรือบุคคลที่มีที่ดินไม่เพียงพอแก่การครองชีพและประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมเป็นอาชีพเสริม หรือประกอบกิจการอื่นที่เป็นกิจการสนับสนุนหรือกิจการเกี่ยวเนื่องได้ตามขนาดการถือครองในที่ดินประเภทใดประเภทหนึ่ง เพื่อมิให้ได้รับสิทธิในที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินซ้ำซ้อนกัน (๑๐) กำหนดให้มีการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตปฏิรูปที่ดิน (๑๑) กำหนดให้มีการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นหลักการที่กำหนดขึ้นใหม่ (๑๒) กำหนดมาตรการทางปกครองและค่าปรับบังคับการแทนการกำหนดโทษทางอาญาในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๓) กำหนดบทเฉพาะกาลรองรับคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชุดเดิม และการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพัน หรือสิ่งปลูกสร้างของ ส.ป.ก. เดิม และกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเดิม และเพื่อรองรับอนุบัญญัติต่าง ๆ

หมวด
การเกษตร

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์แหล่งข้อมูลต้นทาง

อัพเดตข้อมูล: 8 พ.ค. 2568

แชร์หน้านี้

รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย


ผู้ร่วมเสนอ 20 คน

พรรคพลังสังคมใหม่

1 คน

พรรคท้องที่ไทย

1 คน

พรรคพลังประชารัฐ

17 คน

ไม่พบข้อมูลพรรค

1 คน

เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use)
ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้ข้อตกลงในการใช้งาน (Terms of Use) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]