ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
24 ต.ค. 67

กฤดิทัช แสงธนโยธิน สส. ชุดที่ 26 (2566)
พรรคใหม่ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยมีสาระสำคัญ คือ (๑) ยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๒) แก้ไขปรับปรุงการกำหนดความหมายของบทนิยามต่าง ๆ ให้มีความหมายชัดเจนมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติและรองรับหลักการที่กำหนดขึ้นใหม่ (๓) กำหนดให้มี “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” และ “คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด” โดยให้มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญบางประการขึ้นใหม่ (๔) กำหนดให้มี “สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” (ส.ป.ก.) เช่นเดิม แต่มีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นบางประการในการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม (๕) จัดตั้ง “กองทุนการปฏิรูปที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม” ขึ้นใน ส.ป.ก. โดยวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินจากกองทุนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น เพื่อการจัดทำระบบสาธารณูปโภคที่ตั้งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและนอกเขตปฏิรูปที่ดินได้ จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ลงทุนพัฒนาที่ดินในกรณีเกษตรกรคืนที่ดินให้แก่ ส.ป.ก. จัดทำระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ซ่อมแซมหรือปรับปรุงระบบน้ำหรือโครงสร้างสาธารณูปโภคในเขตปฏิรูปที่ดินและเขตคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม (๖) กำหนดการได้มาซึ่งที่ดินที่จะใช้เพื่อการปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ได้ โดยหากเป็นที่ดินของรัฐ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน และถ้าเป็นที่ดินของเอกชน ก็ให้ออกกฎกระทรวงกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินและจัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินของเอกชนส่วนที่ถือครองเกินสิทธิ (๗) กำหนดให้กรณีที่กิจการที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในการปฏิรูปที่ดิน ให้ ส.ป.ก. และคู่สัญญาได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน (๘) กำหนดให้มีการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินออกเป็น ๕ เขต ได้แก่ (๑) เขตพื้นที่เกษตรกรรม (๒) เขตพื้นที่ส่งเสริมการประกอบเกษตรกรรม (๓) เขตพื้นที่ประกอบกิจการ (๔) เขตพื้นที่ชุมชน และ (๕) เขตพื้นที่เพื่อการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ (๙) กำหนดให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร หรือบุคคลที่มีที่ดินไม่เพียงพอแก่การครองชีพและประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมเป็นอาชีพเสริม หรือประกอบกิจการอื่นที่เป็นกิจการสนับสนุนหรือกิจการเกี่ยวเนื่องได้ตามขนาดการถือครองในที่ดินประเภทใดประเภทหนึ่ง เพื่อมิให้ได้รับสิทธิในที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินซ้ำซ้อนกัน (๑๐) กำหนดให้มีการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตปฏิรูปที่ดิน (๑๑) กำหนดให้มีการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นหลักการที่กำหนดขึ้นใหม่ (๑๒) กำหนดมาตรการทางปกครองและค่าปรับบังคับการแทนการกำหนดโทษทางอาญาในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๓) กำหนดบทเฉพาะกาลรองรับคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดชุดเดิม และการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพัน หรือสิ่งปลูกสร้างของ ส.ป.ก. เดิม และกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเดิม และเพื่อรองรับอนุบัญญัติต่าง ๆ
รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย
ผู้ร่วมเสนอ 20 คน

พรรคพลังสังคมใหม่
1 คน

พรรคท้องที่ไทย
1 คน

พรรคพลังประชารัฐ
17 คน

ไม่พบข้อมูลพรรค
1 คน
เรียงตามตัวอักษร
1 | |
2 | |
3 | |
4 | |
5 | ![]() นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ |
6 | |
7 | |
8 |
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ