พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
19 ธ.ค. 66
คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 63 (2566)
ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งมีใจความหลักสำคัญการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ที่ใช้บังคับอยู่ ซึ่งยังรับรองการสมรสเฉพาะชาย-หญิง เท่านั้น เพื่อให้รับรองการสมรสสำหรับบุคคลสองคนไม่ว่าจะมีเพศตามทะเบียนราษฎรเป็นเพศใดก็ตาม โดยการลงมตินี้ ใช้ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมสามฉบับ เรียงตามลำดับช่วงวันที่เสนอต่อสภา ได้แก่ 1) ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับที่เสนอโดย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พรรคก้าวไกล 2) ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับที่เสนอโดยภาคประชาชน ใช้กลไกเข้าชื่อเสนอกลไกรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 10,000 ชื่อเสนอร่างกฎหมายเข้าสภา และ 3) ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับที่เสนอโดย คณะรัฐมนตรี (ครม.) ผลักดันโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://ilaw.or.th/node/6729
เส้นทางกฎหมาย
-
24 ก.ย. 67
ออกเป็นกฎหมาย - สว.พิจารณา วาระ 3
พิจารณาให้ความเห็นชอบ
- สว.พิจารณา วาระ 2
อยู่ระหว่างการพิจารณา
- สว.พิจารณา วาระ 1
รับร่าง พ.ร.บ. ไว้พิจารณา
-
27 มี.ค. 67
สส.พิจารณา วาระ 2ขั้นกรรมาธิการ และ สส.ลงมติรับรายมาตรา
-
27 มี.ค. 67
สส.พิจารณา วาระ 3ขั้นลงมติเห็นชอบ
-
21 ธ.ค. 66
สส.พิจารณา วาระ 1รับหลักการและตั้งกรรมาธิการ
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ