ร่าง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่
ชื่อทางการ ร่างพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่
24 ต.ค. 67

บัญชา เดชเจริญศิริกุล สส. ชุดที่ 26 (2566)
พรรคท้องที่ไทยหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ เพื่อกำหนดให้กรณีที่มีบรรดาบทบัญญัติที่กำหนดห้ามมิให้ใช้กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในท้องถิ่น ให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลไป (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓) เหตุผล โดยที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นบุคคลในพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับราษฎรในการปฏิบัติงานตามกฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยมีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติ หรือโรคระบาดร้ายแรง การป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยประนีประนอมและจัดการระงับปัญหาความขัดแย้งในท้องที่ และยังมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ตัวแทนของราษฎรเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ความเดือดร้อนของราษฎรเพื่อนำเสนอต่อส่วนราชการ ซึ่งไม่ได้เป็นการทับซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอื่น ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้มีการบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และกำหนดให้บริหารตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ดังนั้น เพื่อให้คงมีตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในทุกตำบล หมู่บ้านต่อไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตเทศบาลระดับใด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
รายชื่อผู้เสนอกฎหมาย
ผู้ร่วมเสนอ 32 คน

พรรคใหม่
1 คน

พรรคเพื่อไทย
14 คน

พรรคพลังประชารัฐ
5 คน

พรรครวมไทยสร้างชาติ
8 คน

พรรคไทรวมพลัง
1 คน

พรรคชาติไทยพัฒนา
1 คน

พรรคประชาธิปัตย์
1 คน

ไม่พบข้อมูลพรรค
1 คน
เว็บไซต์นี้สร้างโดย กลุ่มเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Technology) ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านเทคโนโลยีและข้อมูลเปิด (Open Data) ภารกิจของเราคือการทำให้ประชาธิปไตยไทยเปิดเผย โปรงใส และมีส่วนรวมได้ เราจึงตั้งใจพัฒนาโปรเจกต์ Parliament Watch ให้เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดช่องทางให้ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถจับตาดูการทำงานของ ‘รัฐสภา’ โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) Open Society Foundations และ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ